Start planning your trip
ภาษาญี่ปุ่นคำนี้แปลได้ด้วยเหรอ? มาเรียนวลีเฉพาะในภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ!
ถึงแม้ว่าบางวลีในภาษาญี่ปุ่นจะแปลเป็นภาษาอื่นค่อนข้างยาก แต่บางวลีก็มีประโยชน์อย่างมากเวลาใช้พูดดคุยกับคนอื่น ในครั้งนี้เราจะมาแนะนำคำศัพท์เหล่านั้นกันค่ะ!
ถ้าเกิดใครกำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ก็น่าจะเคยพบเห็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นบางคำที่ไม่สามารถแปลเป็นภาษาอื่น ๆ ได้อย่างตรงความหมายกันมาบ้าง ถึงแม้ว่าจะแปลออกมาได้ตรงความหมายในระดับหนึ่ง แต่หลายครั้งก็มักจะขาดความหมายหรือพลังบางอย่างที่ซุกซ่อนอยู่ในคำศัพท์ดั้งเดิมของมันไปอย่างน่าเสียดาย
ในครั้งนี้เราจะมาแนะนำคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่ยากต่อการแปลเป็นภาษาอื่น ๆ กันค่ะ!
ภาษาญี่ปุ่นที่ยากต่อการแปล
“โคโมเระบิ”「木漏れ日」
จาก「5 แหล่งชมใบไม้เปลี่ยนสีในโอซาก้า~สวนมิโนโอะ・ปราสาทโอซาก้า・สวนไดเซ็น~」
“โคโมเระบิ” หมายถึง “แสงอาทิตย์ที่สาดส่องผ่านช่องระหว่างใบไม้” โดยเป็นคำศัพท์แนวบทกวีที่ใช้กันบ่อยมากตามนวนิยายต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้กันบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ก็มีความหมายแฝงถึงความโรแมนติกเล็ก ๆ ทำให้อยากลองอ่านออกมาเสียงดัง ๆ เลยทีเดียว
คำศัพท์คำนี้เป็นคำศัพท์ที่เหมาะกับการใช้แสดงความงดงามของ ใบไม้เปลี่ยนสี เป็นอย่างยิ่ง
“โยยโฉะ”「よいしょ」
จาก「“งานเทศกาลฤดูร้อน” ขุมพลังแห่งวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น」
“โยยโฉะ” เป็นหนึ่งในคำเลียนเสียงธรรมชาติในภาษาญี่ปุ่น โดยเป็นคำศัพท์ที่ใช้พูดกันเวลายกอะไรสักอย่างหรือก่อนทำงานที่ใช้แรงงาน วิธีการพูดจะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้ก็ยังเป็นคำศัพท์ที่ใช้กันในหมู่ผู้แห่ เกี้ยวมิโกชิ ตามงานเทศกาลเหมือนกับเป็นเสียงที่เปล่งออกมาตอนยกเกี้ยวด้วยนะเออ...
“นัตสึคาชี่” 「懐かしい」
取自「從池袋徒步可到!來雜司谷鬼子母神堂散步,體驗「老東京」文化」
“นัตสึคาชี่” คือ คำศัพท์ที่ใช้กันเวลาเดินทางไปเยือนสถานที่ในความทรงจำหรือพูดถึงสิ่งที่ไม่มีแล้วในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อเวลาเดินทางไปที่ โรงน้ำชา โบราณหรือ ย่านร้านค้า ที่ทำให้นึกถึง “สมัยโชวะ” ก็จะทำให้เราสัมผัสได้ถึงบรรยากาศของความ “นัตสึคาชี่”
“นันโตนาขุ” 「なんとなく」ก็เป็นหนึ่งในคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่ผู้เขียนชื่นชอบเช่นเดียวกัน โดยมีความหมายถึง “คลุมเครือ” และ “ไม่ชัดเจน” คนญี่ปุ่นมักใช้กันเวลาที่เข้าใจบางสิ่งบางอย่างในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ลึกซึ้ง
คำศัพท์และคำพูดเฉพาะในภาษาญี่ปุ่น
จาก「สัมผัสประเทศญี่ปุ่นร่วมกับคนท้องที่! ใน Warm Up Fes ในนิชิอาราอิ ที่จัดขึ้นทุกฤดูกาล」
ระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ในญี่ปุ่น เราจะได้พบกับคำศัพท์เกี่ยวกับการทักทายอันหลากหลายไม่ว่าจะเป็น “โยโรชิขุ ”「よろしく」,“โอะซึคาเระซามะ”「 お疲れ様」, “อิทาดาคิมัส”「いただきます」, และ “โกะจิโซซามะ”「ごちそうさま」 ถึงแม้ว่าวลีเหล่านี้จะใช้กันบ่อยมากในภาษาญี่ปุ่นก็จริง แต่บอกเลยว่าแปลยากสุด ๆ จ้า
“โยโรชิขุ”「よろしく」
จาก「「SAMURAI TRIP」ห้องเรียนเคนโด้ภาษาอังกฤษเอาใจชาวต่างชาติ」
“โยโรชิขุ” หมายถึง “ขอแสดงความนับถือ” ซึ่งเป็นวลีที่ใช้กันเวลาเขียนจดหมาย แต่ก็มีความหมายแฝงถึงการขอร้องเรื่องอะไรสักอย่างอีกด้วย นอกจากคนญี่ปุ่นแล้วไม่ค่อยมีใครใช้ในการทักทายสักเท่าไหร่
เช่น ในกรณีที่ต้องการขอพักที่บ้านของใครสักคน เราจะพูดกับเขาว่า “โยโรชิขุ โอเนไงชิมัส 「よろしくお願いします」(ขอรบกวนด้วยครับ/ค่ะ)” แต่ในภาษาอื่น ๆ มักจะพูดเป็นคำแสดงความขอบคุณซะมากกว่า
“โอะซึคาเระซามะ”「お疲れ様」
“โอะซึคาเระซามะ” เมื่อแปลตรงตัวแล้วจะหมายถึง “วันนี้พอเท่านี้แหละ” “ดูเหนื่อยนะ” แต่ความจริงแล้วมีความหมายถึงความเห็นอกเห็นใจต่อความยากลำบากของอีกฝ่ายในความหมายว่า “ขอบคุณที่ทำงานอย่างเต็มที่” และ “วันนี้ตั้งใจทำงานดีมาก”
แถมคนญี่ปุ่นยังมักใช้เป็นวลีสำหรับทักทายหลังเลิกงานหรือเวลาพบใครสักคนหลังเลิกงานอีกด้วย โดยเหมาะกับการใช้ทักทายหลังเลิกจากการทำงานเป็นเวลาอันยาวนานมากที่สุด
“อิทาดาคิมัส”「いただきます」 และ “โกะจิโซซามะ”「ごちそうさま」
จาก「10 ข้อควรรู้ การบริการหรือกฎที่ไม่เหมือนที่ไหน ที่ร้านอาหารญี่ปุ่น」
“อิทาดาคิมัส” และ “โกะจิโซซามะ” เป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการทานอาหาร “อิทาดาคิมัส” เป็นคำพูดที่เปล่งออกมาก่อนทานอาหารต่อผู้ที่ให้ของกินหรือทำอาหารให้เราทาน โดยแสดงความหมายถึง ขอบคุณที่ให้อาหารมื้อนี้กับเรา
นอกจากนี้ก็ยังเป็นคำศัพท์ที่คนญี่ปุ่นมักใช้พูดกันก่อนเริ่มทางอาหารกับใครสักคนทั้งที่บ้านและร้านอาหารอีกด้วย โดยแฝงความหมายคล้าย ๆ กับการอธิษฐาน แม้กระทั่งเวลาทานอาหารคนเดียวบางคนก็ใช้วิธีพูดเบา ๆ กับตัวเอง
ส่วน “โกะจิโซซามะ” ก็เป็นวลีที่มีความหมายว่า “ขอบคุณสำหรับมื้ออาหาร” เหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ว่าจะใช้เวลาทานอาหารหมดแล้วแทน นอกจากนี้ก็ยังมีความหมายว่า “อาหารมื้อนี้อร่อยมาก” อีกด้วย เราจึงมักจะเห็นลูกค้าใช้พูดกับพนักงานหรือเชฟหลังเช็คบิลเสร็จตามร้านอาหารต่าง ๆ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
ประโยคภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานแสนสะดวกสำหรับการท่องเที่ยว
14 ประโยคภาษาญี่ปุ่นแสนสะดวกสำหรับถามทาง
13 วลีภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ตามร้านอาหารญี่ปุ่น
“คุเสะนินารุ”「くせになる」
จาก「สารานุกรมคำญี่ปุ่น「ราเม็ง」」
“คุเสะนินารุ” หมายถึง “กลายเป็นนิสัยหรือธรรมเนียม” แต่ความจริงแล้วก็มีความหมายว่า “ติดใจ (อะไรสักอย่าง) จนเลิกไม่ได้” อีกด้วย เช่น สำหรับใครที่ชื่นชอบอาหารญี่ปุ่นอาจจะพูดได้ว่าการไปร้าน ซูชิ หรือร้าน ราเม็ง และคาเฟ่ที่มี ขนมญี่ปุ่นรสชาเขียว นั้น “คุเสะนินารุ” หรือติดใจไปซะแล้ว
“คุจิซาบีชี่”「口さびしい」
取自「【便利商店】日本人私底下嘴饞都愛吃這個!人氣『原創零食篇』」
“คุจิซาบีชี่” เมื่อแปลตรงตัวแล้วจะหมายถึง “เหงาปาก” แต่ความจริงแล้วเป็นคำศัพท์ที่ใช้กัน เวลาที่อยากทานอาหารสักอย่างทั้ง ๆ ที่ไม่ได้หิวอะไรมาก เนื่องจากในญี่ปุ่นเต็มไปด้วยของหวานอย่างไอศกรีมและขนมแสนอร่อยมากมายนับไม่ถ้วน จึงเหมาะกับการใช้เวลาต้องการทานอะไรสักอย่างให้หายเหงาสุด ๆ
คำพูดเฉพาะในภาษาญี่ปุ่นที่ไม่มีในภาษาอื่น ๆ
“โมโนโนะอาวาเระ”「もののあわれ」
จาก「อลัง!! กับ 5 สถานที่ชมดอกไม้ไฟร่วมกับธรรมชาติ แถบคันโต」
“โมโนโนะอาวาเระ” หมายถึง ความเข้าใจหรือการดื่มด่ำกับความงดงามทางธรรมชาติที่ผันแปร โดยแสดงถึงสุนทรียด้านความงามซึ่งเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมและศิลปะของญี่ปุ่น
คำศัพท์นี้ใช้กันในวัฒนธรรมญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็น ซากุระ ซึ่งมีช่วงเวลาการบานสะพรั่งอันแสนสั้น, ดอกไม้ไฟในฤดูร้อน, การจัดดอกไม้ญี่ปุ่น, การชงชาญี่ปุ่น และ สวนญี่ปุ่น สำหรับใครที่เคยเดินทางมาเที่ยวญี่ปุ่นก็น่าจะเข้าใจกันในระดับหนึ่งอยู่แล้วเนอะ...
“นานะโคโรบิยาโอกิ”「七転び八起き」
จาก「คู่มือแนะนำเมื่อเกิดแผ่นดินไหวระหว่างเที่ยวญี่ปุ่น」
“นานะโคโรบิยาโอกิ” หมายถึง “ล้ม 7 ครั้ง ลุกขึ้น 8 ครั้ง” โดยมีความหมายว่า “ถึงแม้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็จะยังคงต่อสู้ฝ่าฟันต่อไปจนถึงที่สุด”
นอกจากนี้ “กัมบาเระ”「頑張れ」 เป็นวลีที่ใช้เชียร์หรือให้กำลังใจใครสักคนที่กำลังพยายามตั้งใจทำอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่ แถมยังนิยมใช้กันในความหมายของการให้กำลังใจคนที่ตกอยู่ในสภาวะยากลำบากอีกด้วย
บทส่งท้าย
สำหรับใครที่มีโอกาสได้เดินทางมาเที่ยวญี่ปุ่นบอกเลยว่าถ้ารู้จักคำศัพท์ทักทายและแสดงความขอบคุณขั้นพื้นฐานจะสะดวกมาก แต่ถ้าเกิดใครอยากเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นก็ต้องลองศึกษาคำพูดเฉพาะในภาษาญี่ปุ่นที่ไม่มีในภาษาอื่น ๆ กันดูค่ะ
รับรองว่าเพื่อน ๆ จะได้สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นผ่านคำศัพท์เหล่านี้กันอย่างแน่นอน ^^
Born in 1959. Currently working as a freelance translator, after 21 years in various companies.
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง